Aviation Institute
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

การเขียนแบบถอดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้าน การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

Go down

การเขียนแบบถอดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้าน การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ Empty การเขียนแบบถอดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้าน การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

ตั้งหัวข้อ  Admin Fri May 30, 2014 2:58 pm

แบบฟอร์มการเขียนแบบถอดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้าน การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ

1. ชื่อ-สกุล ผู้เล่าเรื่อง พล.อ.ท.ศุภกฤต อริยะปรีชา คณะวิชา/หน่วยงาน สถาบันการบิน สาขาวิชานักบินพาณิชย์
2. ชื่อ-สกุล ผู้บันทึก นาย ณัฐพล สุขอ้น คณะวิชา/หน่วยงาน สถาบันการบิน สาขาวิชานักบินพาณิชย์
3. บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้เล่าเรื่อง
รองคณบดีฝ่ายวิชาการและเทคนิค สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นกรรมการของคณะกรรมการสถาบันการบินและรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการของหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์
4. เรื่องที่เล่า
การบริหารหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบินพาณิชย์ เน้นหลักประหยัด ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
5. บริบทหรือความเป็นมาของเรื่องที่เล่า
นักบินพาณิชย์ของสายการบินต่างๆ ในประเทศไทย แต่เดิมมาจากนักบินที่ลาออกมาจากกองทัพ หน่วยงานที่มีเครื่องบิน นักบินจากต่างประเทศ ผู้ที่จบปริญญาตรีแล้วจบการฝึกบินทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดตั้งหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบิน (ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นสาขาวิชานักบินพาณิชย์ในการปรับปรุงหลักสูตรปี พ.ศ.2553) ของมหาวิทยาลัยรังสิต ขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการนักบินพาณิชย์ในระดับประเทศและนานาชาติ จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษาที่มีวิสัยทัศน์และความท้าทายเป็นอย่างยิ่ง
6. วิธีการ/ขั้นตอน หรือกระบวนการที่ทำให้งานนั้นประสบความสำเร็จ
1) จัดตั้งคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญในสายงานที่เกี่ยวข้องในทุกสาขาเพื่อจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบิน
2) จัดทำหลักสูตรสาขาวิชานักบิน แบบ 2+2 คือเรียนที่สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ระยะเวลา 2 ปี และเรียนที่โรงเรียนการบินที่ได้รับการรับรองจากกรมการบินพลเรือน เพื่อผลิตนักบินพาณิชย์ตามมาตรฐานนานาชาติที่มีคุณภาพและคุณธรรมระดับสากล
3) นักศึกษาจะได้รับการเรียน การฝึก อบรม การรับรองของแพทย์เวชศาสตร์การบินก่อนขึ้นเป็นนักบินฝึกหัดของโรงเรียนการบิน เมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาบัตรจากมหาวิทยาลัยรังสิต สอบรับใบประกาศนียบัตรนักบินพาณิชย์ตรี จากกรมการบินพลเรือนภายใต้การรับรองขององค์กรการบินพลเรือนนานาชาติ (ICAO : International Civil Aviation Organization) และการสอบภาษาอังกฤาสำหรับนักบินพาณิชย์


7. เทคนิคหรือกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ
การรู้และเข้าใจถึงคุณลักษณะเฉพาะของนักบินพาณิชย์ เพื่อการกำหนดกลยุทธ์ในการจัดทำหลักสูตร ขั้นตอนการผลิต ข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทรัพยากรอันได้แก่นักศึกษาที่มีความฝันและความต้องการที่จะมีอาชีพในการเป็นนักบินพาณิชย์
8. ผู้มีส่วนร่วมทำให้เกิดความสำเร็จและบทบาทของบุคคลนั้น
1) วิสัยทัศน์ทางด้านการศึกษาของ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยเอกชนที่มีแนวคิดว่า “นวัตกรรมคือการศึกษา” ซึ่งจะทำให้บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยรังสิตมีเครื่องมือที่ดีและเหมาะสมสามารถประกอบอาชีพในฝันที่มีเกียรติในสังคมได้
2) คณะกรรมการสถาบันการบินทั้งผู้บริหารและบุคลากร
3) โรงเรียนการบินกรุงเทพ (ประเทศไทย) และ Gander Flight Training (Canada)
4) นักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
9. อุปสรรค์หรือปัญหาในการทำงานและแนวทางในการแก้ปัญหา/อุปสรรคดังกล่าว
1) อาชีพนักบินพาณิชย์เป็นอาชีพที่มีคุณลักษณะเฉพาะและมีค่าใช้จ่ายสูง จึงมีผู้ที่มีความพร้อมในการเรียนด้วยทุนของตนเองเป็นจำนวนน้อย
2) เมื่อจบการศึกษาแล้วยังต้องแข่งขันในการเข้าทำงานกับสายการบิน ดังนั้นการคัดเลือกนักศึกษาในเบื้องต้นจะต้องอยู่ในข้อกำหนดอาชีพนักบินพาณิชย์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดแนวทางใน การเรียน การอบรม การปลูกฝังความรักด้านการบิน
3) บัณฑิตที่จบการศึกษาในรุ่นแรกๆ จะต้องมีมาตรฐานสามารถผ่านการสอบรับเข้าทำงานกับสายการบิพาณิชย์ได้ ดังนั้นการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักบินพาณิชย์จะยึดแนวทางในการรับคนเข้าทำงานของสายการบินเป็นหลัก
10. ผลลัพธ์หรือความสำเร็จที่เกิดขึ้นคือ
สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2549 ปัจจุบันในปี พ.ศ.2556 มีบัณฑิตสถาบันการบินจบการศึกษาแล้ว 4 รุ่น จำนวน 67 คน ส่วนใหญ่ทำงานกับสายการบินในประเทศเช่น การบินไทย นกแอร์ บางกอกแอร์เวย์ ไทยแอร์เอเชีย ไทยสไมล์ บิสิเนสแอร์ ฯลฯ
11. การเรียนรู้ของผู้เล่าเรื่องจากประสบการณ์ความสำเร็จดังกล่าว
วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ การเปลี่ยนแปลง ความเสี่ยง การบริหารองค์การ และธรรมาภิบาล เป็นแนวทางและกรอบแนวคิดเพื่อทำให้หลักสูตรในการผลิตนักศึกษาให้เป็นนักบินพาณิชย์ในสถาบันการศึกษามีความยั่งยืนได้ตลอดไป
12. สมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ หรือทัศนคติ) ของผู้เล่าเรื่อง
การบริหารหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตรโดยมองถึงการเปลี่ยนแปลงภาคอุตสาหกรรมการบินในประเทศ การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และความเจริญเติบโตของบูรพาภิวัตน์ ซึ่งจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการนักบินพาณิชย์ที่เป็นทั้งโอกาสและความเสี่ยง สถาบันการบินจะต้องพัฒนาการผลิตนักศึกษาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
13. ผลงานเชิงประจักษ์ของผู้เล่าเรื่องคือ
- เอกสารวิจัย เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานักบินให้สอดคล้องกับการศึกษาภาควิชาการและการฝึกบิน

Admin
Admin

จำนวนข้อความ : 189
Join date : 15/02/2010

http://airrsu.nice-boards.com

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ